วันศุกร์ที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2562

อนุทินที่ 3

แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 2


เมื่อนักศึกษาได้ศึกษาบทเรียนนี้แล้ว จงตอบคำถามต่อไปนี้ให้ถูกต้อง


1. ใครเป็นผู้ขอพระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับแรกและมีเหตุผลอย่างไร และประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา เป็นอย่างไร อธิบาย
            ตอบ ผู้ขอพระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับแรกคือสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปกฯ พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 เหตุผลผู้ขอพระราชทานรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยามถือเป็นฉบับแรกคณะราษฎร์เปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตยได้กล่าวไว้ว่า บัดนี้การศึกษาสูงขึ้นแล้ว มีข้าราชการประกอบด้วยวุฒิปรีชาในรัฐาภิปาลนโยบายสามารถนาประเทศของตน ในอันที่จะก้าวหน้าไปสู่สากลอารยธรรมแห่งโลกโดยสวัสดี สมควรแล้วที่จะพระราชทานพระบรมวโรกาส ให้ข้าราชการและประชาชนของพระองค์ ได้มีส่วนมีเสียงตามความเห็นดีเห็นชอบในการจรรโลงประเทศสยามให้วัฒนาการในภายภาคหน้า ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา คือ หมวด 2 สิทธิและหน้าที่ของชนชาวสยาม มาตรา 14 ภายในบังคับแห่งกฎหมายบุคคลย่อมมีเสรีภาพบริบูรณ์ภายในร่างกายเคหสถาน ทรัพย์สิน การพูด การเขียน การโฆษณา การศึกษาอบรม การประชุมโดยเปิดเผย การตั้งสมาคม การอาชีพ (ราชกิจจานุเบกษา,2475, 536)

2. แนวนโยบายแห่งรัฐในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาของรัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2492 ได้กำหนดอย่างไร อธิบาย
ตอบ ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา
หมวด 3 สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย
มาตรา 36 บุคคลย่อมมีเสรีภาพบริบูรณ์ในการศึกษา  เมื่อการศึกษาอบรมนั้นไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อหน้าที่ของพลเมืองตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาอบรมและไม่ขัดต่อกฎหมาย ว่าด้วยการจัดสรรสถานศึกษาสถานศึกษาของรัฐและของเทศบาล ต้องให้ความเสมอภาคแก่บุคคลในการเข้ารับการศึกษาอบรมตามความสามารถของบุคคลนั้น ๆ
หมวด 4 หน้าที่ของชนชาวไทย
มาตรา 53 บุคคลมีหน้าที่รับการศึกษาอบรมชั้นประถมศึกษา ภายในเงื่อนไขและวิธีการที่กฏ  หมายบัญญัติ
หมวด 5 แนวนโยบายแห่งรัฐ ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา
มาตรา 62 การศึกษาอบรมพึงมีจุดประสงค์ที่จะให้ชนชาวไทยเป็นพลเมืองดี มีร่างกายแข็งแรงและอนามัยสมบูรณ์ มีความรู้ความสามารถที่จะประกอบอาชีพ และมีจิตใจเป็นนักประชาธิปไตย มาตรา 63 รัฐพึงส่งเสริมและบำรุงการศึกษาอบรม การจัดระบบการศึกษาอบรมเป็นหน้าที่ของรัฐ โดยเฉพาะสถานศึกษาทั้งปวงย่อมอยู่ภายในการควบคุมดูแลของรัฐ การศึกษาอบรมชั้นอุดมศึกษา รัฐพึงจัดการให้สถานศึกษาดำเนินกิจการของตนเองได้ภายในขอบเขตที่กฎหมายบัญญัติ
มาตรา 64 การศึกษาอบรมชั้นประถมศึกษาในสถานศึกษาของรัฐและของเทศบาลจะต้องจัดให้โดยไม่เก็บค่าเล่าเรียน รัฐพึงช่วยเหลือให้อุปกรณ์การศึกษาอบรมตามสมควร
มาตรา 65 รัฐพึงสนับสนุนการค้นคว้าในทางศิลปะศาสตร์และวิทยาศาสตร์ (ราชกิจจานุเบกษา, 2492, 25-27)

3. เปรียบเทียบแนวนโยบายแห่งรัฐประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาของรัฐธรรมนูญฯพุทธศักราช 2511 พุทธศักราช 2517 และ พุทธศักราช 2521 เหมือนหรือต่างกันอย่างไร อธิบาย
         ตอบ แนวนโยบายแห่งรัฐประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาของรัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2511 พุทธศักราช 2517 และ พุทธศักราช 2521 เหมือนกันตรงที่การจัดอบรมชั้นประถมศึกษาของรัฐและเทศบาล โดยไม่เก็บค่าเล่าเรียน

4. ประเด็นที่ 1 รัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2475 - 2490 ประเด็นที่ 2 รัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 25492 - 2517 ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาเหมือนหรือต่างกันอย่างไร อธิบาย
         ตอบ ต่างกัน เพราะในประเด็นที่ 1 จะไม่บังคับด้านการศึกษาโดยจะให้เสรีในการเลือกตัดสินใจ  ประเด็นที่ 2 มีการเข้มงวดในเรื่องการศึกษาโดยทางรัฐบาลจะช่วยเหลือด้านเข้าเล่าเรียน

5. ประเด็นที่ 3 รัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2521 - 2534 ประเด็นที่ 4 รัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2540 -2550 ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาเหมือนหรือต่างกันอย่างไร อธิบาย
ตอบ เหมือนกันที่ รัฐพึงส่งเสริมและบำรุงการศึกษาอบรมและการฝึกอบรมตามความเหมาะสมและความต้องการของประเทศ การจัดระบบการศึกษาอบรมเป็นหน้าที่ของรัฐโดยเฉพาะ สถานศึกษาทั้งปวงย่อมอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของรัฐ รัฐพึงช่วยเหลือผู้ยากไร้ให้ได้รับทุนและปัจจัยต่าง ๆบุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่า 12 ปีที่รัฐจะต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย การศึกษาอบรมขององค์กรวิชาชีพและเอกชนภายใต้การกากับดูแลของรัฐ ย่อมได้รับการคุ้มครองทั้งนี้ ตามที่กฎหมาย

6. เหตุใดรัฐธรรมนูญแต่ละฉบับจะต้องระบุในประเด็นที่รัฐจะต้องจัดการศึกษาอย่างเป็นธรรมและทั่วถึง อธิบาย
            ตอบ การปรับเปลี่ยนตามความต้องการของประเทศและตามเศรษฐกิจในยุคปัจจุบัน

7. เหตุใดรัฐจึงต้องกำหนด บุคคลมีหน้าที่รับการศึกษาอบรมตามเงื่อนไขและวิธีการที่กฎหมายบัญญัติจงอธิบาย หากไม่ปฏิบัติจะเกิดอะไรขึ้น
         ตอบ เมื่อกำหนดรัฐธรรมนูญขึ้นมาจะต้องมีหน่วยงานของรัฐและเอกชนมาให้ความช่วยเหลือทางด้านการศึกษาให้ทั่วถึงและความเสมอภาคแก่ปวงประชาชนอย่างเท่าเทียมกัน หากไม่ปฏิบัติจะเกิดความไม่เสมอภาคความไม่เท่าเทียมกันและขาดการช่วยเหลือทางการศึกษา

8. การจัดการศึกษาที่เปิดให้องคก์รปกครองส่วนท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาหากเราพิจารณารัฐธรรมนูญมีฉบับใดบ้างที่ให้องค์กรส่วนท้องถิ่นมีส่วนร่วม และถ้าเปิดโอกาสให้ท้องถิ่นมีส่วนร่วมมากขึ้นท่านคิดว่าเป็นอย่างไร จงอธิบาย
         ตอบ  ฉบับที่ 5-10  (พ.ศ. 2540-2550)และถ้าเปิดโอกาสให้ท้องถิ่นมีส่วนร่วมมากขึ้นคิดว่าโอกาสที่ประชาชนจะได้รับการศึกษาสูงและได้รับการช่วยเหลือในเรื่องต่าง ๆ อย่างทั่วถึง

9. เหตุใดการจัดการศึกษา รัฐต้องคุ้มครองและพัฒนาเด็กและเยาวชน ส่งเสริมความเสมอภาคทั้งหญิงและชาย พัฒนาความเป็นปึกแผ่นของครอบครัว และความเข็มแข็งของชุมชน สังเคราะห์ผู้ยากไร้ ผู้พิการหรือทุพพลภาพและผู้ด้อยโอกาส จงอธิบาย
ตอบ ความเสมอภาคและการช่วยเหลือที่เท่าเทียมกันและการปลูกฝังให้ผู้เรียนมีจิตสานึกของความเป็นไทย มีระเบียบวินัย คำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวม และยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

10. ผลการจัดการศึกษาที่ผ่านมาของรัฐธรรมนูญฉบับ ปัจจุบันมีผลต่อการพัฒนาประเทศอย่างไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ  มีผลต่อการพัฒนาด้านการศึกษา
                  1. นโยบายเรียนฟรี 15 ปี
                  2. ค่าใช้จ่ายในการซื้ออุปกรณ์การเรียน
                  3.  การมอบทุนการศึกษา
                  4. การให้การศึกษาแก่ผู้พิการ
            เมื่อมีรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยขึ้นและมีการปรับปรุงแก้ไขในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา ได้มีวิวัฒนาการเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่เสรีภาพ การศึกษาอบรม ให้กับเด็กและเยาวชนให้เป็นผู้มีความสมบรูณ์ทั้งทางร่างกาย จิตใจ  สติปัญญา  คุณธรรมจริยธรรม โดยมีแนวทางในการจัดการศึกษา รัฐจะต้องจัดการศึกษาและสนับสนุนให้เอกชนจัดการศึกษาอบรมให้เกิดความรู้คู่คุณธรรมเช่นกัน และจัดการศึกษาภาคบังคับให้เข้ารับการศึกษาอบรมโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย สำหรับการศึกษาภาคบังคับ  ต่อมาได้เพิ่มเติมจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ไม่น้อยกว่า 12 ปี รัฐจะต้องจัดอย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ พร้อมทั้งจัดให้มีกฎหมายการศึกษาแห่งชาติ  หรือเรียกชื่อว่า พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติขึ้น





วันจันทร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

อนุทินที่ 2


แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 1


1. ท่านคิดว่าทำไมมนุษย์เราต้องมีกฎหมายหากไม่มีจะเป็นอย่างไร
ตอบ มนุษย์คนเราจำเป็นที่จะต้องมีกฏหมายเป็นอย่างยิ่ง เพราะว่า การที่มาร่วมกันอยู่เป็นจำนวนมาก จะต้องเกิดมีเห็นที่แตกต่างกัน เกิดการขัดแย้ง ดังนั้นจึงต้องมีการตั้งกฎและระเบียบขึ้นเพื่อจำกัดสิทธิบางอย่าง และให้มีเสรีภาพเท่าที่จำเป็น เพื่อที่มนุษย์จะได้อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ไม่ให้เกิดความขัดแย้ง เข่นฆ่ากันขึ้น กฎและระเบียบต่างๆ  หากไม่มีกฎหมายอำนาจจะตกอยู่กับผู้ที่มีอำนาจ ไม่มีกฎเกณฑ์ ไม่มีบทลงโทษ ในที่สุดก็จะไม่มีระเบียบวินัย บ้านเมืองมีปัญหาวุ่นวาย มนุษย์ต่างคนต่างจะทำในสิ่งที่ตัวเองต้องการ โดยไม่เกรงกลัวความผิด  ผู้ที่มีอิทธิพลก็จะควบคุมคนในสังคม โดนการเอาเปรียบ 

2. ท่านคิดว่าสังคมปัจจุบันจะอยู่ได้หรือไม่หากไม่มีกฎหมายและจะเป็นอย่างไร
ตอบ ถ้าหากในสังคมนี้ไม่มีกฎหมาย ก็จะทำให้สังคมนี้มีปัญหาการวุ่นวาย เกิดความไม่สงบเกิดขึ้นได้ เพราะคนที่มีโอกาสมากกว่าก็จะเอาเปรียบ โดยผู้น้อยก็ไม่มีสิทธิ์เรียกร้องอะไร ความสงบสุขก็จะหายไป สังคมจะอยู่ไม่ได้ หากไม่มีกฎหมายจะเป็นบ้านเมืองที่วุ่นวาย มีปัญหาต่างๆ เกิดขึ้น เช่น  การปล้น  การฆ่า การอยู่ร่วมกันของมนุษย์ก่อให้เกิดความขัดแย้ง มีการทะเลาะวิวาท ทำร้ายร่างกายกัน มีการแก่งแย่ง มีการแย่งชิงอิทธิพลความเป็นใหญ่กันอยู่เป็นประจำ ซึ่งถ้าหากในสังคมมีกฏหมายเกิดขึ้นก็จะทำให้บ้านเมืองมีการลงโทษหรือข้อห้ามกฎต่าง ๆ ขึ้นมาที่สามารถทำให้สังคมสงบสุขขึ้นได้เป็นอย่างยิ่ง 

3. ท่านมีความรู้ความเข้าเกี่ยวกับกฎหมายในประเด็นต่อไปนี้
ก. ความหมาย               ข. ลักษณะหรือองค์ประกอบของกฎหมาย
ค. ที่มาของกฎหมาย        ง. ประเภทของกฎหมาย
          ตอบ  
          ก. ความหมาย           
กฎหมาย คือ ข้อบังคบที่ทุกคนยึดถือและปฏิบัติเป็นที่ยอมรับของคนในสังคม ซึ่งผู้มีอำนาจของประเทศได้บัญญัติขึ้น และบังคับให้ผู้ที่อยู่ในประเทศนั้นถือปฏิบัติตาม เพื่อกำหนดความประพฤติของพลเมืองผู้ใดฝ่าฝืนไม่ยอมปฏิบัติตามมีความผิดและถูกลงโทษ
ข. ลักษณะหรือองค์ประกอบของกฎหมาย
1. เป็นคำสั่งหรือข้อบังคับที่เกิดจากรัฎฐาอธิปไตยที่องค์กรหรือคณะบุคคลที่มีอำนาจสูงสุดอาทิรัฐสภาฝ่ายนิติบัญญัติหัวหน้าคณะปฏิวัติกษัตริย์ในระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์สามารถใช้อำนาจบัญญัติกฎหมายได้ เช่น รัฐสภาตราพระราชบัญญัติ คณะรัฐมนตรีตราพระราชกำหนดพระราชกฤษฎีกา คณะปฏิวัติออกคำสั่งหรือประกาศคณะปฏิวัติชุดต่าง ๆ ถือว่าเป็นกฎหมาย         
2. มีลักษณะเป็นคำสั่งข้อบังคับ อันมิใช่คำวิงวอน ประกาศ หรือแถลงการณ์ อาทิ ประกาศของกระทรวงศึกษาธิการ คำแถลงการณ์ของคณะสงฆ์ ให้ถือเป็นแนวปฏิบัติมิใช่กฎหมาย
3. ใช้บังคับกับคนทุกคนในรัฐอย่างเสมอภาค เพื่อให้ทุกคนเกรงกลัวและถือปฏิบัติสังคมจะสงบสุขได้
4. มีสภาพบังคับซึ่งบุคคลจะต้องปฏิบัติตามกฎหมาย โดยเฉพาะการกระทำ และการงดเว้นการกระทำตามกฎหมายนั้น ๆ กำหนดหากฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามฝ่าฝืนอาจถูกลงโทษหรือไม่ก็ได้และสภาพบังคับในทางอาญา คือ โทษที่บุคคลผู้ที่กระทำผิดจะต้องได้รับโทษ เช่น รอลงอาญาปรับจำคุกกักขังริมทรัพย์ แต่หากเป็นคดีแพ่งผู้ฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามกฎหมายจะต้องชดใช้ค่าสินทรัพย์ใหม่ทดแทนหรือค่าเสียหายหรือชำระหนี้ด้วยการส่งมอบทรัพย์สินให้กระทำหรืองดเว้นกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งตามมูลหนี้ที่มีต่อกันระหว่างเจ้าหนี้และลูกหนี้ เช่น บังคับใช้หนี้เงินกู้พร้อมดอกเบี้ยบังคับให้ผู้ขายส่งมอบหรือโอนทรัพย์สินให้แก่ผู้ซื้อตามสัญญาซื้อขาย เป็นต้น
               ค. ที่มาของกฎหมาย
ที่มาของกฎหมาย พอที่จะสรุปได้ 5 ลักษณะดังนี้
1. บทบัญญัติแห่งกฎหมาย เป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษร
2. จารีตประเพณี เป็นแบบอย่างที่ประชาชนนิยมปฏิบัติตามกันมานาน หากนำไปบัญญัติเป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษรแล้วย่อมมีสภาพไปเป็นกฎหมาย
3. ศาสนา เป็นข้อห้ามและข้อปฏิบัติที่ดีของทุกๆ ศาสนาสอนให้เป็นคนดี
4. คำพิพากษาของศาลหรือหลักบรรทัดฐานของคำพิพากษา ซึ่งคำพิพากษาของศาลชั้นสูงเป็นแนวทางที่ศาลชั้นต้นต้องนำไปถือปฏิบัติในการตัดสินคดีหลัง ๆ ซึ่งแนวทางเป็นเหตุผลแห่งความคิดของตนว่าทำไมจึงตัดสินคดีเช่นนี้ อาจนำไปสู่การแก้ไขกฎหมายในแนวความคิดนี้ได้ จะต้องตรงตามหลักความจริงมากที่สุด
          5. ความเห็นของนักนิติศาสตร์ เป็นการแสดงความคิดเห็นว่าสมควรที่จะออกกฎหมายอย่างนั้น สมควรหรือไม่ จึงทำให้นักนิติศาสตร์ อาจจะเป็นอาจารย์ผู้มีชื่อเสียงในกฎหมายได้แสดงความคิดเห็นว่ากฎหมายฉบับนั้นได้ ในประเด็นที่น่าสนใจเพื่อที่จะแก้ไขกฎหมายให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับประชาชนดังกล่าว
                ง. ประเภทของกฎหมาย
ก. กฎหมายภายใน มีดังนี้
1. กฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษรและไม่เป็นลายลักษณ์อักษร
                     1.1 กฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษร
                     1.2 กฎหมายที่เป็นไม่เป็นลายลักษณ์อักษร
          2. กฎหมายที่มีสภาพบังคับทางอาญา และกฎหมายที่มีสภาพบังคับทางแพ่ง
                     2.1 กฎหมายที่มีสภาพบังคับทางอาญา
                     2.2 กฎหมายที่มีสภาพบังคับทางแพ่ง
          3. กฎหมายสารบัญญัติ และกฎหมายวิธีสาบัญญัติ
                     3.1 กฎหมายสารบัญญัติ
                     3.2 กฎหมายวิธีสาบัญญัติ
        4. กฎหมายมหาชน และกฎหมายเอกชน
                     4.1 กฎหมายมหาชน
                     4.2 กฎหมายเอกชน
 ข. กฎหมายภายนอก มีดังนี้
          1. กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง
          2. กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล
          3. กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีอาญา    
    
4. ท่านมีความคิดเห็นอย่างไร ว่า ทำไมทุกประเทศจำเป็นต้องมีกฎหมายจงอธิบาย
       ตอบ กฏหมายเป็นข้อบังคับที่ใช้ควบคุมความประพฤติของมนุษย์ในสังคม เพราะมนุษย์ไม่ว่าจะประเทศไหนเมื่อมีการอยู่ร่วมกันในสังคมในประเทศเป็นหมู่มากต่างคนก็ต่างนิสัยก็จำเป็นต้องมีกฎเกณฑ์เพื่อการใช้ชีวิตในประเทศให้มีความสุข การอยู่ร่วมกันของมนุษย์ ก่อให้เกิดความขัดแย้ง ทำร้ายร่างกาย สาเหตุมาจากความไม่พึงพอใจ มีการแก่งแย่ง ถ้ามีการใช้กำลังกันบ่อยเข้าสังคมมนุษย์จึงไม่อาจดำรงอยู่ได้ ความมีเหตุผลเป็นพื้นฐานที่สังคมมนุษย์พัฒนาการจากสังคมเล็กที่สุด คือครอบครัวไปสู่สังคมที่ใหญ่ที่สุด  ดังนั้นกฏหมายจึงจำเป็นและสำคัญเป็ยอย่างมากในการดำรงชีวิตไม่ว่าจะอยู่ในสังคมหรือสภาพความเป็นอยู่ประเทศใดก็ตาม

5. สภาพบังคับในทางกฎหมายท่านมีความเข้าใจอย่างไร จงอธิบาย
ตอบ สภาพบังคับในทางกฏหมาย คือ กฎหมายเป็นกฎเกณฑ์ที่กำหนดความประพฤติของมนุษย์ เพื่อให้มนุษย์จำต้องปฏิบัติตามกฎเกณฑ์  จึงจำเป็นต้องมีสภาพบังคับในกรณีที่มีการฝ่าฝืนกฎเกณฑ์กฎหมายใดไม่มีสภาพบังคับ ไม่เรียกว่าเป็นกฎหมาย สภาพบังคับ (SANCTION) ของกฎหมายคือโทษต่างๆในกฎหมาย ถ้าเป็นสภาพบังคับอาญา ได้แก่ ประหารชีวิต จำคุก กักขัง ปรับ ริบทรัพย์สิน 

6. สภาพบังคับกฎหมายในอาญาและทางแพ่ง มีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร
         ตอบ เหมือนกัน เพราะจะต้องตีความตามตัวอักษรเหมือนกัน แต่สภาพบังคับของกฎหมายแพ่งต้องตีความตามตัวอักษรหรือตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย ซึ่งอาจยืดหยุ่นตามดุลพินิจของศาลได้ เช่น การกำหนดให้การกระทำที่ฝ่าฝืนกฎหมายนั้นตกเป็นโมฆะหรือโมฆียะ ส่วนสภาพบังคับอาญาต้องตีความเคร่งครัดตามตัวอักษร โดยถือเอาเจตนาของผู้กระทำความผิดเป็นใหญ่ในการกำหนดโทษ เช่น ประหารชีวิต จำคุก กักขัง ปรับ ริบทรัพย์สิน

7. ระบบกฎหมายเป็นอย่างไร จงอธิบาย
ตอบ ระบบกฏหมายสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้
1. ระบบซีวิลลอร์ หรือระบบลายลักษณ์อักษร ถือกำเนิดขึ้นในทวีปยุโรปราวคริสต์ศตวรรษที่ 12 เป็นระบบเอามาจาก “Jus Civile” ใช้แยกความหมาย “Jus Gentium” ของโรมัน ซึ่งมีลักษณะพิเศษกล่าวคือ เป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษรที่มีความสำคัญกว่าอย่างอื่น คำพิพากษาของศาลไม่ใช่ที่มาของกฎหมาย แต่เป็นบรรทัดฐานแบบอย่างของการตีความกฎหมายเท่านั้น เริ่มต้นจากตัวบทกฎหมายเป็นสำคัญ จะถือเอาคาพิพากษาศาลหรือความคิดเห็นของ นักกฎหมายเป็นหลักไม่ได้ ยังถือว่า กฎหมายเอกชนและกฎหมายมหาชนเป็นคนละส่วนกัน และการวินิจฉัยคดีผู้พิพากษาเป็นผู้ตัดสินชี้ขาด กลุ่มประเทศที่ใช้กฎหมายนี้
2 .ระบบคอมมอนลอว์ (Common Law System) เกิดและวิวัฒนาการขึ้นในประเทศอังกฤษมีรากเหง้ามาจากศักดินา ซึ่งจะต้องกล่าวถึงคาว่า “เอคควิตี้ (equity) เป็นกระบวนการเข้าไปเสริมแต่งให้คอมมอนลอว์ เป็นการพัฒนามาจากกฎหมายที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร นาเอาจารีตประเพณีและคำพิพากษา ซึ่งเป็นบรรทัดฐานของศาลสมัยเก่ามาใช้ จนกระทั่งเป็นระบบกฎหมายที่มีความสมบูรณ์ในตัวเอง การวินิจฉัยต้องอาศัยคณะลูกขุนเป็นผู้ตัดสินชี้ขาด ประเทศที่ใช้ระบบกฎหมายนี้

8. ประเภทของกฎหมายมีหลักการแบ่งอย่างไรบ้าง มีกี่ประเภท แต่ละประเภทประกอบด้วยอะไรบ้างยกตัวอย่างอธิบาย
ตอบ จะสามารถพิจาณาแบ่งประเภทของกฎหมายออกเป็นกลุ่มย่อย ๆ แบ่งได้หลายลักษณะขึ้นอยู่กับว่าเราใช้อะไรเป็นหลักในการแบ่ง ได้เเก่ แบ่งโดยแหล่งกำเนิด อาจแบ่งออกได้เป็นกฎหมายภายในและกฎหมายภายนอก กฎหมายภายใน เป็นหลักในการแบ่งย่อยออกไปได้อีก เช่น แบ่งโดยถือเนื้อหาเป็นหลักเป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษรและกฎหมายที่ไม่ได้เป็นลายลักษณ์อักษร แบ่งโดยถือสภาพบังคับกฎหมายเป็นหลัก เป็นกฎหมายอาญาและกฎหมายแพ่ง แบ่งโดยถือลักษณะเป็นหลัก แบ่งได้เป็น กฎหมายสารบัญญัติและกฎหมายวิธีสบัญญัติ แบ่งโดยถือฐานะและความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับประชาชนเป็นเกณฑ์แบ่งได้เป็นกฎหมายมหาชน และกฎหมายเอกชน
       ประเภทของกฏหมายสามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ประเภท คือ
1. กฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษรและไม่เป็นลายลักษณ์อักษร
1.1 กฏหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษร เช่น รัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ ประมวลกฎหมายต่าง ๆ พระราชกำหนด พระราชกฤษฎีกา
          1.2 กฏหมายที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร เช่น จารีตประเพณี หลักกฎหมายทั่วไป
2. กฎหมายที่มีสภาพบังคับทางอาญาและกฎหมายที่มีสภาพบังคับทางแพ่ง
2.1 กฎหมายที่มีสภาพบังคับทางอาญา เช่น การประหารชีวิต จำคุก กักขัง ปรับ หรือริบทรัพย์สิน
          2.2 กฎหมายที่มีสภาพบังคับทางแพ่ง เช่น การกำหนดให้เป็นโมฆะกรรมหรือโมฆียกรรม การบังคับ ให้ชำระหนี้การให้ชดใช้ค่าเสียหาย หรือการที่กฎหมายบังคับให้ทำอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อความเป็นธรรม
3. กฎหมายสารบัญญัติ และกฎหมายวิธีสบัญญัติ
3.1 กฎหมายสารบัญญัติ เช่น ตัวบทกฎหมายในประมวลกฎหมายอาญาและในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชเกือบทุกมาตราเป็นกฎหมายสารบัญญัติ
3.2 กฎหมายวิธีสบัญญัติ พระราชบัญญัติล้มละลาย มีทั้งหลักเกณฑ์องค์ประกอบและวิธีการดำเนินคดีล้มละลายรวมอยู่ด้วยการที่จะเป็นไปกฎหมายประเภทใดให้ดูว่า สาระนั้นหนักไปทางใดมากกว่ากัน
4. กฎหมายมหาชน และกฎหมายเอกชน
4.1 กฎหมายมหาชน ได้แก่กฎหมายรัฐธรรมนูญ กำหนดระเบียบแบบแผนการใช้อำนาจอธิปไตย กำหนดสิทธิและหน้าที่ของประชาชน กฎหมายปกครองกำหนดการแบ่งส่วนราชการเพื่อบริหารประเทศ และการบริการสาธารณะด้านต่าง ๆ แก่ประชาชน กฎหมายอาญา เพื่อคุ้มครองความสงบในสังคม ฯลฯ
          4.2 กฎหมายเอกชน กฎหมายแพ่งและพาณิชย์และพระราชบญัญัติบางฉบับ

9. ท่านเข้าใจถึงคำว่า ศักดิ์ของกฎหมายคืออะไร มีการแบ่งอย่างไร
ตอบ ศักดิ์ของกฏหมาย คือ การจัดลำดับฐานะหรือความสูงต่ำของกฎหมาย โดยมีหลักในการตีความว่า กฎหมายที่มีศักดิ์ต่ำกว่าคือมีลำดับชั้นต่ำกว่าจะขัดหรือแย้งต่อกฎหมายที่มีศักดิ์สูงกว่า หรือมีลำดับชั้นสูงกว่ามิได้ หรืออีกนัยหนึ่งคือ ลำดับความสูงต่ำของกฎหมายที่ไม่เท่าเทียมกัน ซึ่งความไม่เท่าเทียมกันของกฎหมายแต่ละฉบับนั้น พิจารณาได้จากองค์กรที่มีอำนาจในการออกกฎหมาย หมายความว่ากฎหมายแต่ละฉบับจะมีชั้นของกฎหมายในระดับนั้น  ให้พิจารณาจากองค์กรที่ออกกฎหมายฉบับนั้น 
   การจัดแบ่งลำดับชั้นของกฎหมายไทยสามารถจัดแบ่งลำดับชั้นได้ดังนี้
          1. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย                        
          2. พระราชบัญญัติและประมวลกฎหมาย
          3. พระราชกำหนด                                                       
          4. ประกาศพระบรมราชโองการให้ใช้บังคับ
          5. พระราชกฤษฎีกา                                                     
          6. กฎกระทรวง
          7. ข้อบัญญัติจังหวัด                                                    
          8. เทศบัญญัติ
          9. ข้อบังคับองค์การบริหารส่วนตำบล 

10. เหตุการณ์ เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2555 มีเหตุการณ์ชุมนุมของประชาชน ณ ลานพระบรมรูปทรงม้า และประชาชนได้ประกาศว่าจะมีการประชุมอย่างสงบ แต่ปรากฏว่ารัฐบาลประกาศเป็นเขตพื้นที่ห้ามชุมนุม และขัดขว้างไม่ให้ประชาชนชุมนุมอย่างสงบ ลงมือทำร้ายร่างกายประชาชน ในฐานะท่านเรียนวิชานี้ท่านจะอธิบายบอกเหตุผลว่ารัฐบาลกระทำผิดหรือถูก
          ตอบ ดิฉันคิดว่าการกระทำที่รัฐบาลทำเเบบนั้นเป็นสิ่งที่ผิด เพราะว่า ประชาชนทุกคนนั้นย่อมจะมีสิทธิของตนเองที่จะแสดงความคิดเห็นในการอยู่ร่วมกันในสังคม ทุกคนสามารถเสนอแนวคิด เสนอความคิดเห็นส่วนตัวในสิ่งที่ตนเองคิดได้หากความคิดนั้นเป็นความคิดที่สามารถสะท้อนถึงความเป็นอยู่หรือความจำเป็นในการดำรงชีวิตของประชาชนกลุ่มนั้น ถ้าหากว่าการกระทำเหล่านั้นไม่ได้ทำให้ใครผู้อื่นเดือดร้อนหรือได้รับความเสียหายอันตรายใดๆ และอีกทั้งในการชุมนุมนั้นก็เป็นการชุมนุมที่สงบ ไม่ได้ทำร้ายใครเเต่เพียงเเค่เพื่อเรียกร้องสิทธิของตนเองเท่านั้น เพราะถ้าถ้าหากว่ารัฐบาลหรือผู้นำไม่มีการรับฟังหรือไม่ให้ประชาชนเสนอความคิดเห็นในการปกครองใดๆ ก็จะทำให้สังคมนั้นไม่มีความสงบสุข

11. ท่านมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ คำว่า กฎหมายการศึกษาอย่างไร จงอธิบาย
           ตอบ กฎหมายการศึกษา เป็นบทบัญญัติตามกฎหมายรัฐธรรมนูญได้กำหนดให้มีกฎหมายการศึกษาขึ้นที่จะเชื่อมโยงกับกฎหมายรัฐธรรมนูญว่า ด้วยการศึกษาคือจะเป็นกฎหรือคำสั่งหรือข้อบังคับของรัฐที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาที่สถาบันหรือหน่วยงานผู้มีอำนาจได้ตราขึ้นบังคับใช้ซึ่งกฎหมายเกี่ยวกับการศึกษาในปัจจุบันเป็นพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542เป็นทรัพยากรที่สำคัญที่จะส่วนพัฒนาสังคมและประเทศชาติให้เจริญก้าวหน้า ดังนั้น การศึกษาจึงมีส่วนสำคัญยิ่งที่จะช่วยให้คนในชาติมีความรู้ เพื่อนำไปพัฒนาประเทศต่อไป รัฐจึงต้องลงทุนด้านการศึกษา เพื่อพัฒนาเด็กและเยาวชนของชาติขึ้นมาทดแทนผู้ใหญ่ที่จะอ่อนกำลังลงในอนาคต ประเทศชาติจึงต้องทุ่มเทงบประมาณจำนวนมหาศาลเพื่อพัฒนาการศึกษา สำหรับการจัดการศึกษาของทุกประเทศรวมทั้งประเทศไทยมุ่งเน้นให้คนในสังคมมีความสมบูรณ์ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สติปัญญา มีความรู้คู่คุณธรรม และดำรงไว้ซึ่งวัฒนธรรมประเพณีของชาติ

12. ในฐานะที่นักศึกษาจะต้องเรียนวิชานี้ถ้าเราไม่ศึกษากฎหมายการศึกษาท่านคิดว่า เมื่อท่านไปประกอบอาชีพครูจะมีผลกระทบต่อท่านอย่างไรบ้าง
           ตอบ เนื่องจากกฎหมายทางการศึกษา เป็นหัวใจสำคัญในการศึกษา ที่จะทำให้คนมาเป็นครูได้นั้นจะต้องมีความรู้เกี่ยวกับ กฎหมาย ว่ามีอะไรบ้าง มีข้อห้าม ข้อควรปฏิบัติอย่างไรทำให้เราได้เข้าใจและนำไปให้ทางการศึกษา การเรียนการสอน ดังนั้นถ้าเราไม่รู้กฎหมายทางการศึกษาจะทำให้เกิดผลกระทบหลายด้านไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของ การจัดการศึกษาอย่างไรที่จะต้องเป็นไป  เพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้ และคุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข  ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นพื้นฐานที่คนเป็นครูจะต้องทราบเพื่อจะได้ส่งเสริมกระบวนการจัดการศึกษาให้ผู้เรียนได้





วันเสาร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

อนุทินที่ 1


ให้นักศึกษาแนะนำตนเอง  
1. ประวัติของตนเอง 
2. อุดมการณ์ความเป็นครูของตนเอง  
3. เป้าหมายของตนเอง




 ประวัติ

ชื่อ              :        นางสาวเสาวลักษณ์ เกลี้ยงมณี          ชื่อเล่น     :     สาว  
เกิดวันที่        :       สิงหาคม พ.ศ. 2539  
สัญชาติ         :        ไทย    ศาสนา          :     พุทธ
ที่อยู่             :        146/1 หมู่ 7 ตำบล เขาขาว อำเภอ ทุ่งสง จังหวัด นครศรีฯ เบอร์  
โทรศัพท์        :        093-6264830
E – mail       :        saowalakklaingmanee@gmail.com
กำลังศึกษาอยู่ที่        มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช ชั้นปีที่  4 คณะครุศาสตร์
สาขาพลศึกษา
คติประจำใจ          " ความพยายามอยู่ที่ไหน ความสำเร็จอยู่ที่นั่น"
งานอดิเรก     :        ฟังเพลง อ่านหนังสือ ดูหนัง ออกกำลังกาย
Facebook    :        เสาวลักษณ์ เกลี้ยงมณี 

อุดมการณ์ความเป็นครูของตนเอง
            ดิฉันอยากจะเป็นครูที่ดี  คอยอบรมลูกศิษย์ให้ได้ดี เเละจะทำหน้าที่ให้เต็มที่ที่สุดเพื่อนคนรอบข้างเเละเพื่อประเทศชาติได้ภาคภูมิใจในอาชีพครู

เป้าหมายของตนเอง
            ดิฉันจะเป็นคุณครูพลศึกษา เป็นแบบอย่างที่ดีให้กับลูกศิษย์ และจะทำหน้าที่ครูให้เต็มที่ที่สุด